วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ความหมาย และที่มาของคำว่า “ธรรมกาย”


ธรรมกาย คือ ... 
กายภายในที่มีอยู่ในกายของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่จำกัดว่าจะเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย 
สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา พรหม อรูปพรหม ล้วนต่างมีธรรมกายอยู่ภายในทั้งสิ้น 
แต่ภพภูมิที่สามารถเข้าถึง ธรรมกาย ได้นั้น จะต้องเป็นเวไนยสัตว์ที่อยู่ในสุขคติภูมิเท่านั้น 
จึงจะสามารถเข้าถึงได้

          คำว่าธรรมกายนี้ หลวงพ่อวัดปากน้ำ(สด จนฺทสโร)ท่านกล่าวไว้ในพระธรรมเทศนาเรื่อง
พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณว่า ท่านมิได้เป็นผู้บัญญัติขึ้นเอง
 แต่มีคำนี้ปรากฏอยู่แล้วในพระไตรปิฎก หลวงพ่อได้อธิบายที่มาไว้ดังนี้ ... 

“...พระสิทธัตถะ ทรงกระทำความเพียรอยู่ถึง ๖ พรรษา จึงพบรัตนะอันลี้ลับซับซ้อน 
อยู่ในองค์พระคือพระธรรมกาย มีสัณฐานเหมือนพระปฏิมากร เกตุดอกบัวตูม 
มีสีใสเหมือนกระจก ปรากฏอยู่ในศูนย์กลางกาย ที่ว่านี้มีหลักฐานอยู่ในอัคคัญญสูตร 
ที่พระองค์ตรัสแก่วาเสฎฐสามเณรว่า ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฎฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ 
ในพระสุตตันตปิฎก ฑีฆนิกาย ปาฎิกวรรค ยืนยันความว่าดูกรวาเสฎฐสามเณร 
“คำว่าธรรมกายนี้ เป็นชื่อของพระตถาคตโดยแท้

          เรื่องพระวักกลินั้น 
เมื่อระลึกถึงคตวามในอัคคัญญสูตรนี้ ประกอบแล้ว ย่อมส่องความให้เห็นว่า 
ที่พระองค์ตรัสว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา” นั้น หมายความว่า ผู้ใดเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ผู้นั้นได้ชื่อว่าเห็นเรา คือตถาคตนั่นเอง มิใช่อื่นไกลหรือพูดให้เข้าใจง่ายกว่านี้ ก็ว่า 
ผู้ใดเห็นดวงธรรมที่ว่านี้ ผู้นั้นเห็นพระพุทธเจ้า หรืออีกอย่างหนึ่งว่า ...
ผู้ใดเห็นธรรมกาย ผู้นั้นเห็นพระพุทธเจ้า

          ทำไมจึงหมายความเช่นนั้นก็เพราะว่า ขณะนั้นพระวักกลิก็อยู่ใกล้ๆ กับพระพุทธองค์ 
หากจะแลดูด้วยลูกตาธรรมดา ทำไมจะไม่เห็นพระองค์ เพราะไม่ปรากฏว่าพระวักกลินั้นตาพิการ 
เมื่อเช่นนี้ไฉนพระองค์จะตรัสเช่นนั้นเล่า ที่ตรัสเช่นนั้น จึงตีความหมายได้ว่า 
ที่แลเห็นด้วยตาธรรมดานนั้น เห็นแต่เปลือกของพระองค์ ก็คือกายพระสิตถัตถะที่ออกบวช 
ซึ่งมิได้อยู่ในความหมายแห่งคำว่าเรา และยังตรัสว่าเป็นที่เปื่อยเน่าด้วย นั่นคือกายพระสิตธัตถะ
ที่ออกบวช ก็คือกายภายนอกนั่น คำว่าเราในที่นี้จึงสันนิษฐานได้ว่า หมายถึงกาภายในซึ่ง
มิใช่กายเปื่อยเน่า กายภายในซึ่งมิใช่กายเปื่อยเน่า กายภายในคืออะไรเล่า ก็คือธรรมกายนั่นเอง 
จะเห็นได้อย่างไร ข้อนี้ตอบไม่ยาก เมื่อได้บำเพ็ญกิจภาวนาถูกส่วนแล้ว 
ท่านจะเห็นด้วยตาของท่านเอง คือเห็นด้วยตาธรรมกาย (ตาของกายละเอียด) 
ไม่ใช่ตาธรรมดา

          พระดำรัสของพระองค์ดังยกขึ้นมากกล่าวนั้นเป็นปัญหาธรรมมีนัยลึกซึ้งอยู่ 
อันผู้มิได้ปฏิบัติธรรมแล้ว เข้าใจได้ยาก แต่ถ้าผู้ปฏิบัติได้แล้ว 
จะตอบปัญหานี้ได้ด้วยตนเองอย่างง่ายดาย ไม่ต้องไปถามใคร...”

พระวักกลินั้นออกบวชด้วยความติดใจในพระรูปพระโฉมอันงดงามของพระพุทธเจ้า 
ไม่ใช่เลื่อมใสในพระธรรมคำสอน ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะเสด็จไปประทับ ณ ที่ใด 
พระวักกลิจะติดตามไปคอยเฝ้าดูพระพุทธองค์ทุกพระอิริยาบถ ด้วยความประทับใจ

          พระพุทธองค์ทรงทราบดี แต่ก็มิได้ทรงว่ากล่าวแต่ประการใด เพราะเห็นว่ายังไม่ถึงเวลา 
เมื่อทรงเห็นว่าญาณของพระวักกลิแก่กล้าแล้ว จึงตรัสว่า... 

อเปหิ วกฺกลิ กึเต วกฺกลิ อิมินา ปูติกาเยน ทิฏฺเฐน 
จงถอยออกไป วักกลิ ร่างกายตถาคตเป็นของเปื่อยเน่า 

โย โข วกฺกลิ ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ โย มํ ปสฺสติ โส ธมฺมํ ปสฺสติ 
แน่ะสำแดงวักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม 

ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ 
ผู้ตถาคต คือ ธรรมกาย 

พระวักกลิเสียใจที่พระพุทธเจ้าไม่ให้โอกาสได้ใกล้ชิดอีกต่อไป 
ทั้งมีพระวาจาตัดรอนจึงคิดจะไปกระโดดหน้าผา ฆ่าตัวตาย 
พระพุทธองค์ทรงติดตามไปแสดงธรรมโปรด จนพระวักกลิบรรลุธรรม


          พระเดชพระคุณพระธรรมทัศนาธร 
ได้อธิบายเพิ่มเติมเรื่องพระวักกลิกับธรรมกายของหลวงพ่อ ไว้ดังนี้

          “การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสกับพระวักกลิว่า ถ้าบุคคลผู้ใดเห็นธรรม 
นั่นจึงจะเห็นตถาคต พระตถาคตอยู่ที่ธรรมใน เป็นเครื่องยืนยันว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องการ
ที่จะให้คนรู้จักพระองค์ท่านเห็นพระองค์ท่านให้ลึกซึ้งเข้าไปถึงธรรม 

เมื่อรวมความกับที่พระองค์ตอบกับวาเสฎฐพราหมณ์ว่า คำว่าธรรมกายเป็นชื่อของตถาคต 
จึงน่าจะจับใจความได้ว่าธรรมนั้นคือองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้พระธรรม 
พระธรรมเสกสรรปั้นให้พระองค์เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
เมื่อบุคคลเราจะระลึกถึงพระองค์ท่าน ก็ควรจะระลึกถึงพระธรรม พระเดชพระคุณที่อยู่ในหีบ 
จึงได้ตั้งเป็นสถาบันของคณะวิปัสสนานี้ไว้ 
เพื่อให้บรรดาประชาชนได้เข้าถึงธรรมกาย คือองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า”


มีคำว่า ธรรมกาย ปรากฏอยู่อีกหลายแห่งจาก หลักฐานในคัมภีร์

(๑) พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์เป็นธรรมกาย

ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิ”

วาเสฏฐะและภารทวาชะ คำว่า ธรรมกาย ก็ดี พรหมกาย ก็ดี ธรรมภูต ก็ดี พรหมภูต ก็ดี เป็นชื่อของตถาคต”

ที.ปา.๑๑/๕๕/๙๒

(๒) พระแม่น้ามหาปชาบดีโคตมี ผู้เป็นพระอรหันต์ แสดงว่าตนเป็นธรรมกาย

อหํ สุคต เต มาตา       ตุวํ ธีร ปิตา มม
สทฺธมฺมสุขโท นาถ      ตยา ชาตมฺหิ โคตม.
สํวทฺธิโตยํ สุคต           รูปกาโย มยา ตว
อานนฺทิโย ธมฺมกาโย   มม สํวทฺธิโต ตยา.
มุหุตฺตํ ตณฺหาสมนํ       ขีรํ ตฺวํ ปายิโต มยา
ตยาหํ สนฺตมจฺจนฺตํ      ธมฺมขีรมฺปิ ปายิตา.
พนฺธนารกฺขเน มยฺหํ     อนโณ ตฺวํ มหามุเน.”

ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์
ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน
ข้าแต่พระโลกนาถ พระองค์เป็นผู้ประทานความสุขอันเกิดจากพระสัทธรรมให้หม่อมฉัน
ข้าแต่พระโคดม หม่อมฉันเป็นผู้อันพระองค์ให้เกิด.
ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต.
ธรรมกาย อันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ทำให้เจริญเติบโตแล้ว.
หม่อมฉันให้พระองค์ดูดดื่มน้ำนมอันระงับเสียได้ซึ่งความอยากชั่วครู่ แม้น้ำนมคือพระสัทธรรม
อันสงบระงับล่วงส่วน พระองค์ก็ให้หม่อมฉันดูดดื่มแล้ว.
ข้าแต่พระมหามุนี ในการผูกมัดและรักษา พระองค์ชื่อว่ามิได้เป็นหนี้หม่อมฉัน.”

ขุ.อป.๓๓/๑๕๓/๒๘๔

(๓) พระสรภังคเถระ ผู้เป็นพระอรหันต์ กล่าวถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย 
ว่า ทรงอุบัติเป็นธรรมกาย ผู้คงที่

เมื่อก่อนเราผู้ชื่อว่าสรภังคะ ไม่เคยได้เห็นโรคคืออุปาทานขันธ์ ๕ ได้ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้น. 
โรคนั้นอันเราผู้ทำตามพระดำรัสของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ได้เห็นแล้ว. 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า พระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันโธ พระโกนาคมนะ 
พระกัสสปะ ได้เสด็จไปแล้วโดยทางใดแล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมก็ได้เสด็จไปแล้ว
โดยทางนั้น. พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์นี้ ทรงปราศจากตัณหา ไม่ทรงถือมั่น 
ทรงหยั่งถึงความสิ้นกิเลส เสด็จอุบัติแท้โดย ธรรมกาย ผู้คงที่ ทรงเอ็นดูอนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย 
ได้ทรงแสดงธรรมคืออริยสัจ ๔ อันได้แก่ ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางเป็นที่สิ้นทุกข์ 
เป็นทางไม่เป็นไปแห่งทุกข์ อันไม่มีที่สุดในสงสาร เพราะกายนี้แตกและเพราะความสิ้นชีวิตนี้ 
การเกิดในภพใหม่อย่างอื่นมิได้มี. เราเป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากสรรพกิเลสและภพทั้งปวง.”

(๔) ตรัสว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มีธรรมกายมาก 
ได้ตรัสแก่พระอานนท์เวเทหมุนี ซึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค เมื่อประทับอยู่ในวิหารเชตวันว่า 
“ได้ทราบว่า พระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้ามีจริงหรือ เพราะเหตุไร 
ท่านเหล่านั้นจึงได้เป็นพระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นปราชญ์ ?” ว่า...

วิสุทฺธสีลา ... มหนฺตธมฺมา พหุธมฺมกายา ...”

นักปราชญ์เหล่าใด มีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญาหมดจดดี มีจิตตั้งมั่น ประกอบความเพียร เจริญวิปัสสนา... 
ไม่บรรลุความเป็นสาวกในพระศาสนาของพระชินเจ้า 
(นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นสยัมภูปัจเจกชินเจ้า) มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมาก...”

ขุ.อป.๓๒/๒/๒๐

(๕) ปฐมสมโพธิกถา ตอนมารพันธปริวรรต ปริเฉทที่ ๒๘ หน้า ๕๐๙ ความว่า

หลังพุทธปรินิพพานมีพระสาวกองค์หนึ่ง ชื่ออุปคุตต์มหาเถระ เป็นพระอรหันต์ บรรลุอภิญญา ๖ 
มีฤทธานุภาพมาก สามารถปราบพญามารให้ละพยศได้ จนเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเลื่อมใสใน
พระรัตนตรัย แล้วปรารถนาพุทธภูมิ พระอุปคุตต์มหาเถระ ได้ขอร้องได้ขอร้องให้พญามารเนรมิตพระรูปกายของพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยอัครสาวกซ้ายขวาดังนี้


          "ท่านจงได้อนุเคราะห์แก่อาตมา ด้วยสมเด็จพระศาสดา บังเกิดในโลก 
เสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานเสียแล้ว เราได้เห็นแต่ธรรมกายบมิได้เห็นซึ่งพระสรีรกาย 
ท่านจงสงเคราะห์นฤมิตพระรูปกายแห่งพระศาสดาจารย์ พร้อมด้วยอาการทั้งปวงสำแดงแก่เรา 
ให้เห็นประจักษ์กับทั้งพระอัครสาวกทั้งคู่ให้ปรากฏ…"



---------------------------

จะเข้าถึงความเป็น "พุทธ" ก็ด้วยการฝึก กาย วาจา ใจ
ด้วยหลักการวิธีการ คือ มรรคมีองค์ 8
ย่อลงมาได้ คือ ทาน ศีล ภาวนา
เมื่อถูกดี ถึงดี ก็พอดี
ย่อมได้เข้าถึงความเป็น "พุทธ" คือ ธรรมกาย กายอันประกอบด้วยธรรม 
อย่างบัณฑิตนักปราชญ์ในการก่อนได้เข้าถึง

หาใช่ด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ไปตามความรู้สึกนึกคิดด้นเดาเอาไม่!





วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

"ธรรมกาย" จากพระไตรปิฎก




 [๕๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสต่อไปว่า ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ เธอทั้งสองคนมีชาติก็ต่างกัน 
มีชื่อก็เพี้ยนกัน มีโคตรก็แผกกัน มีตระกูลก็ผิดกัน พากันทิ้งเหย้าเรือนเสีย มาบวชเป็นบรรพชิต 
เมื่อจะมีผู้ถามว่า ท่านทั้งสองนี้เป็น พวกไหน เธอทั้งสองพึงตอบเขาว่า 
ข้าพเจ้าทั้งสองเป็นพวกพระสมณศากยบุตร ดังนี้เถิด ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็ผู้ใดแล 
มีศรัทธาตั้งมั่นเกิดขึ้นแล้วแต่ รากแก้วคืออริยมรรค ประดิษฐานมั่นคง อันสมณพราหมณ์ เทวดา
 มาร พรหม หรือผู้ใดผู้หนึ่งในโลก ไม่พรากไปได้ ควรเรียกผู้นั้นว่า เป็นบุตรเกิดแต่พระอุระ 
เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้เกิดแต่พระธรรม เป็นผู้ที่พระธรรม เนรมิตขึ้น 
เป็นผู้รับมรดกพระธรรม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคำว่า ธรรมกาย ก็ดี ว่าพรหมกาย ก็ดี 
ว่าธรรมภูต ก็ดี ว่าพรหมภูต ก็ดี เป็นชื่อของตถาคต ฯ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค



              [๓๖๕] เราหักแขมด้วยมือทั้งสองทำกระท่อมอยู่ เพราะฉะนั้น เราจึงมีชื่อโดยสมมติว่า 
สรภังคะ วันนี้เราไม่ควรหักแขม ด้วยมือทั้ง สองอีก เพราะพระสมณโคดมผู้เรืองยศ 
ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่ เราทั้งหลาย เมื่อก่อน เราผู้ชื่อว่าสรภังคะไม่เคยได้เห็นโรคคือ 
อุปาทานขันธ์ ๕ ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้น โรคนั้น อันเราผู้ทำตามพระ ดำรัสของพระพุทธเจ้า 
ซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ได้เห็นแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า พระวิปัสสี พระสิขี 
พระเวสสภู พระกกุสันโธ พระโกนาคม พระกัสสป ได้ เสด็จไปแล้วโดยทางใดแล 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม      ก็ได้เสด็จไปแล้ว โดยทางนั้น พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์
ทรงปราศจากตัณหา ไม่ทรงถือมั่น ทรงหยั่งถึงความสิ้นกิเลส เสด็จอุบัติแท้ โดยธรรมกาย 
ผู้คงที่ ทรงเอ็นดูอนุเคราะห์ สัตว์ทั้งหลาย ได้ทรงแสดงธรรม คือ อริยสัจ ๔ อันได้แก่ทุกข์ 
เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางเป็นที่สิ้นทุกข์ เป็นทาง ไม่เป็นไปแห่งทุกข์ อันไม่มีที่สุดในสงสาร 
เพราะกายนี้แตก และ เพราะความสิ้นชีวิตนี้ การเกิดในภพใหม่อย่างอื่นมิได้มี เราเป็น 
ผู้หลุดพ้นแล้วจากสรรพกิเลสและภพทั้งปวง.

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา



นักปราชญ์เหล่าใดเจริญสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ และอัปปณิหิตวิโมกข์ 
ไม่บรรลุความเป็นพระสาวกในศาสนา พระชินเจ้านักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็น
พระสยัมภูปัจเจกพุทธเจ้า มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมาก มีจิตเป็นอิสระ ข้ามห้วงทุกข์ ทั้งมวลได้ 
มีจิตโสมนัส มีปกติเห็นประโยชน์อย่างยิ่ง เปรียบดังราชสีห์ เช่นกับนอแรดพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านี้ 
มีอินทรีย์ระงับ มีใจสงบ มีจิตมั่นคง มีปกติ ประพฤติด้วยความกรุณาในสัตว์เหล่าอื่น 
เกื้อกูลแก่สัตว์ รุ่งเรืองในโลกนและโลกหน้า เช่นกับประทีป ปฏิบัติเป็นประโยชน์แก่สัตว์ 
พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านี้ ละกิเลสเครื่องกั้นทั้งปวงหมดแล้ว เป็นจอมแห่งชน 
เป็นประทีปส่องโลกให้สว่าง เช่นกับรัศมีแห่งทองชมพูนุท เป็นทักขิไณยบุคคลชั้นดีของโลก 
โดยไม่ต้องสงสัย บริบูรณ์อยู่เนืองนิตย์ คำสุภาษิต ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย 
ย่อมเป็นไปในโลกทั้งเทวโลก ชนเหล่าใดผู้เป็นพาลได้ฟังแล้ว ไม่ทำเหมือนดังนั้น 
ชนเหล่านั้นต้องเที่ยวไปในสังขารทุกข์บ่อยๆ คำสุภาษิตของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย 
เป็นคำไพเราะ ดังน้ำผึ้งรวงอันหลั่งออกอยู่ ชนเหล่าใดได้ฟังแล้ว ประกอบ การปฏิบัติตามนั้น 
ชนเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้มีปัญญา เห็นสัจจะ คาถาอัน โอฬารอันพระปัจเจกพุทธชินเจ้าออกบวชกล่าวแล้ว คาถาเหล่านั้น พระตถาคตผู้สีหวงศ์ศากยราชผู้สูงสุดกว่านรชน ทรงประกาศแล้ว เพื่อให้รู้แจ้งธรรม คาถาเหล่านี้ พระปัจเจกเจ้าเหล่านั้นรจนาไว้อย่างวิเศษ เพื่อ ความอนุเคราะห์โลก 
อันพระสยัมภูผู้สีหะทรงประกาศแล้ว เพื่อยังความ สังเวช การไม่คลุกคลีและปัญญาให้เจริญ ฉะนี้แล. 

 พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑


    [๑๓๙] เรานั่งอยู่ในโรงอันกว้างใหญ่ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตระ 
ผู้เป็นนายกของโลก ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ผู้บรรลุพลธรรมแวดล้อมด้วย ภิกษุสงฆ์ 
ภิกษุสงฆ์ประมาณ ๑ แสน ผู้บรรลุวิชชา ๓ ได้อภิญญา ๖ มีฤทธิ์มาก แวดล้อมพระสัมพุทธเจ้า 
ใครเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส ในมนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลกไม่มีอะไรเปรียบ 
ในพระญาณของพระสัมพุทธเจ้าองค์ใด ใครได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น 
ผู้มีพระญาณไม่สิ้นสุด แล้วจะไม่เลื่อมใสเล่า ชนทั้งหลายแสดงธรรมกาย และไม่อาจทำ 
รัตนากรทั้งสิ้นให้กำเริบได้ ใครได้เห็นแล้วจะไม่เลื่อมใสเล่า พราหมณ์ นารทะนั้นชมเชยพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระผู้ไม่แพ้ด้วย ๓ คาถานี้แล้วเดินไปข้างหน้า ด้วยจิตอันเลื่อมใสและด้วยการชมเชยพระพุทธเจ้านั้น เราไม่ได้เข้าถึงทุคติเลยตลอดแสนกัลป ในกัลปที่ ๓๐๐๐ แต่กัลปนี้ 
ได้มีพระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์พระนามว่าสุมิตตะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก 
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว 
พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้วดังนี้.ทราบว่า ท่านพระอัตถสันทัสสกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ 
ด้วยประการฉะนี้แล.

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑


ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์ ข้าแต่พระธีรเจ้า 
พระองค์เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน ข้าแต่พระโลกนาถ พระองค์เป็นผู้ประทานความสุข 
อันเกิดจากพระสัทธรรมให้หม่อมฉัน ข้าแต่พระโคดม หม่อมฉันเป็นผู้อันพระองค์ให้เกิด 
ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นอันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต 
ธรรมกายอันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ทำให้เจริญเติบโตแล้ว 
หม่อมฉันให้พระองค์ ดูดดื่มน้ำนมอันระงับเสียได้ ซึ่งความอยากชั่วครู่ 
แม้น้ำนม คือพระสัทธรรมอันสงบระงับล่วงส่วน พระองค์ก็ให้หม่อมฉันดูดดื่มแล้ว 
ข้าแต่พระมหามุนี ในการผูกมัดและรักษา พระองค์ชื่อว่ามิได้ เป็นหนี้หม่อมฉัน 

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก

-----------------------

หลักฐานมีปรากฎในพระไตรปิฎกอย่างชัดเจนและหลายที่อย่างนี้
เราไม่อาจจะกล่าวตู่โดยปราศจากการศึกษาอย่างละเอียดลึกซื้อได้เลยว่า
วัดพระธรรมกาย, บิดเบือนหรือสอนผิดไปจากพระไตรปิฎก!

สิ่งสำคัญอันสูงสุดของการศึกษา คือ การลงมือปฏิบัติธรรม
เพื่อพิสูจน์ หลักหฐานคือคำว่า "ธรรมกาย" ที่มีปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎก
นั้นต่างหากคือวิสัยของบัณฑิตนักปราชญ์พึ่งกระทำ
ไม่ใช่มั่วนั่งเสียเวลากับการโต้เถียงเจรจาด้วยความรู้สึกนึกคิดจิตมยไปเอง
ว่าไม่มีจริง ไม่เห็น ไม่ใช่อย่างนั้นอย่างนี้! แล้วก็ตกอยู่ในความไม่รู้ต่อไป 

พึ่งระลึกให้ชัดเสมอว่า
พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งปัญญา
ที่เกิดจากการปฏิบัติธรรมฝึกกาย วาจา จิต ด้วย ศีล สมาธิ  และจึงเกิดปัญญา 

ไม่ใช่การวิเคราะห์ด้นเดาโดยเอาความเป็นพหูสูตสามัญทั่วไปอย่างที่ทำกันอยู่


"ธัมมกาโย อะหัง อิติปิ: ตถาคต คือ ธรรมกาย"