วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560

หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๕)




เรื่อง : พระสุธรรมญาณวิเทศ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม) และคณะนักวิจัย DIRI
จากวารสารอยู่ในบุญฉบับเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙

 

      สืบเนื่องจากที่ผู้เขียนนำเสนอบทความ “การค้นพบหลักฐานธรรมกายจากเอกสารโบราณในประเทศไทย” ฉบับเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา กล่าวคือ คณะนักวิจัยของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) ได้ทำการสืบค้นศึกษาวิจัยจนพบ หลักฐานร่องรอยธรรมกาย จากหลักศิลาจารึก จารึกลานเงิน เอกสารตัวเขียนประเภทสมุดไทย คัมภีร์พุทธโบราณที่จารลงในใบลาน ซึ่งหลักฐานธรรมกายจากเอกสารโบราณเหล่านั้น ที่ถูกจารด้วยอักษรเขมรโบราณ อักษรขอมไทย อักษรธรรม และอื่น ๆ ทั้งที่เป็นภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาไทย ซึ่งมีมากถึง ๑๔ ชิ้นแล้วนั้น ทางสถาบันวิจัยฯ (DIRI) ก็ยังคงสืบค้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้หลักฐานเพิ่มขึ้น เพราะขณะนี้ก็ได้พบหลักฐานธรรมกายจากแหล่งข้อมูลในต่างประเทศอีกหลายแห่งทีเดียว เช่น ในราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา เป็นต้น
 
ช่วงที่เดินทางไปกัมพูชา เพื่อสืบค้นหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ ได้ไปกราบสักการะสมเด็จพระสังฆราชเทพวงศ์ ที่วัดอุณาโลม กรุงพนมเปญซึ่งสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพทิศได้รับความเมตตาให้ใช้อาคารภายในวัดเป็นที่ทำการ เพื่อเก็บรักษาอนุรักษ์คัมภีร์โบราณ
ช่วงที่เดินทางไปกัมพูชา เพื่อสืบค้นหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ ได้ไปกราบสักการะสมเด็จพระสังฆราชเทพวงศ์ ที่วัดอุณาโลม กรุงพนมเปญ
ซึ่งสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพทิศได้รับความเมตตาให้ใช้อาคารภายในวัดเป็นที่ทำการเพื่อเก็บรักษาอนุรักษ์คัมภีร์โบราณ

     ช่วงต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ผู้เขียนและคณะได้รับเชิญจาก ศาสตราจารย์เคทครอสบี (Prof. Kate Crosby) แห่งมหาวิทยาลัยคิงส์คอลเลจ ประเทศอังกฤษ ให้เข้าร่วมประชุมในช่วงวันที่ ๕-๘ กรกฎาคม ในหัวข้อเรื่อง “กรรมฐานแบบโบราณตามคติพุทธเถรวาท Conference on Traditional Theravada Meditation” ณ ห้องประชุมของสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพทิศ “École Française d’ Extrême - Orient, Siem Reap Cambodia” (EFEO) ซึ่งมีนักวิชาการพุทธศาสนาจากนานาชาติ อาทิ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย เมียนมา ศรีลังกา ไทย สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ ฝรั่งเศส เม็กซิโก และราชอาณาจักรกัมพูชา
 
สมเด็จพระสังฆราชและคณะสงฆ์กัมพูชาร่วมบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรม ถวายเป็นพระราชกุศล แด่สมเด็จพระนโรดม สีหนุ ณ ลานหน้าพระราชวังหลวงและเมตตาให้ผู้เขียนกับคณะเข้าร่วมพิธีดังกล่าวนี้ด้วย
สมเด็จพระสังฆราชและคณะสงฆ์กัมพูชาร่วมบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรม ถวายเป็นพระราชกุศล
แด่สมเด็จพระนโรดม สีหนุ ณ ลานหน้าพระราชวังหลวงและเมตตาให้ผู้เขียนกับคณะเข้าร่วมพิธีดังกล่าวนี้ด้วย

     บรรยากาศจากการประชุมและร่วมกันอภิปราย (Workshop) แลกเปลี่ยนผลงานซึ่งกันและกันในครั้งนี้ ทำให้ทราบว่า วงการศึกษากรรมฐานแบบโบราณทางวิชาการเช่นนี้ยังไม่กว้างขวาง ซึ่งถือได้ว่า นักวิชาการกลุ่มนี้เป็นเสมือนผู้ร่วมกันยกระดับบุกเบิก (Pioneering) เพราะสิ่งที่นักวิชาการทุกท่านวิพากษ์กันเกี่ยวกับประเด็นนี้ก็คือ ในอาณาบริเวณแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ นับแต่โบราณกาล มา องค์ความรู้เรื่องกรรมฐานแบบโบราณถือเป็นองค์ความรู้หลัก เป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่าซ่อนอยู่มากมาย จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนควรร่วมมือกันศึกษา วิจัย ค้นคว้าและอนุรักษ์เอกสารโบราณ ซึ่งรวบรวมองค์ความรู้เหล่านี้ไว้ ไม่ว่าจะมาจากแหล่งใดก็ตาม เพราะเรื่องของกรรมฐานแบบโบราณเป็นเรื่องที่น่าศึกษาและควรเผยแผ่ เพื่อประโยชน์สุขแก่ชาวโลกที่น้อมนำมาปฏิบัติดังนั้นผู้เขียนจึงเล็งเห็นว่า นี้เป็นโอกาสดีของสถาบันวิจัยฯ (DIRI) ที่จะวางรากฐาน และสร้างความเข้าใจเรื่อง “ธรรมกาย” ในทางวิชาการอย่างเป็นรูปธรรมให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
 
บรรยากาศที่อบอุ่นในการประชุมทางวิชาการเรื่องกรรมฐานแบบโบราณตามคติพุทธเถรวาท
บรรยากาศที่อบอุ่นในการประชุมทางวิชาการเรื่องกรรมฐานแบบโบราณตามคติพุทธเถรวาท

     เมื่อผู้เขียนศึกษารายชื่อและผลงานของนักวิชาการที่มาร่วมประชุมและร่วมทำ Workshop ครั้งนี้ เห็นชัดว่า ทุกท่านล้วนมีผลงานเป็นนักวิชาการระดับแนวหน้าของโลกผู้เขียนและคณะจึงไม่มีความเห็นอื่นใด นอกจากตอบรับคำเชิญของท่าน ศาสตราจารย์เคทครอสบี ด้วยความยินดีและเต็มใจ แม้มีภารกิจมากในช่วงนี้ก็ตาม
 
ศาสตราจารย์บาส เทอร์วิล กำลังบรรยายเรื่อง “การปฏิบัติตามพุทธวิธีมุ่งสู่พระนิพพาน” โดยนำข้อมูลมาจากสมุดภาพโบราณ “ไตรภูมิพระร่วง”
ศาสตราจารย์บาส เทอร์วิล กำลังบรรยายเรื่อง “การปฏิบัติตามพุทธวิธีมุ่งสู่พระนิพพาน”
โดยนำข้อมูลมาจากสมุดภาพโบราณ “ไตรภูมิพระร่วง”

     เริ่มการประชุมตั้งแต่วันแรกก็มีเนื้อหาเข้มข้น โดยมีการนำเสนอจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Source) เช่น ศาสตราจารย์โอลิวีเยร์ เดอ บานอน ชาวฝรั่งเศส ผู้อำนวยการสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพทิศ (EFEO) สาขากัมพูชา ผู้มีความเชี่ยวชาญเรื่องคัมภีร์ใบลานในกัมพูชามากว่า ๑๐ ปี พร้อมคณะผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่นอีก ๒ ท่าน คือ คุณสุเพียบ (สุภาพ) และ คุณเลียง ก๊กอาน ที่ทำการสาธิตรูปแบบการปฏิบัติกรรมฐานแบบโบราณในกัมพูชาซึ่งทำให้ที่ประชุมรับทราบอย่างชัดเจน
 

พระสุธรรมญาณวิเทศ วิ. นำเสนอผลวิจัยเรื่อง
“การค้นพบหลักฐานธรรมกายในเอกสารโบราณของประเทศไทย”

     ศาสตราจารย์บาส เทอร์วิล ชาวดัตช์เป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยฮัมบูร์ก แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี แม้เกษียณแล้วปัจจุบันท่านยังคงผลิตผลงานพุทธศาสนาทั้งด้านวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะของชาติไทยและลาวอย่างต่อเนื่อง ในที่ประชุมนี้ท่านนำเสนอ “การปฏิบัติตามพุทธวิธีมุ่งสู่พระนิพพาน” โดยนำข้อมูลมาจากสมุดภาพโบราณ “ไตรภูมิพระร่วง” และมี ดร.แอนดรู สกิลตัน กับ ดร.พิบูลย์ ชุมพลไพศาล นำเสนอผลงานการปฏิบัติกรรมฐานแบบโบราณของ ไทย ซึ่งเป็นแบบของ สมเด็จพระสังฆราชสุก
(ไก่เถื่อน) วัดราชสิทธาราม และมีบางส่วนที่สืบทอดมาจากวัดประดู่ทรงธรรม (วัดประดู่โรงธรรม) สมัยอยุธยา ที่ใช้เป็นหลักวิเคราะห์เรื่องกรรมฐานแบบโบราณ รวมถึงการนำเสนอกรรมฐานแบบโบราณของศรีลังกา เมียนมา ลาว และล้านนา เป็นต้น
 
ภาพศิลาจารึกพระธรรมกายวัดเสือ จังหวัดพิษณุโลก
ภาพศิลาจารึกพระธรรมกายวัดเสือ จังหวัดพิษณุโลก

     เมื่อถึงกำหนดเวลาที่ผู้เขียนในนามสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) และคณะจะได้นำเสนอผลงานจากการที่ได้สืบค้นหลักฐานธรรมกายจากเอกสารโบราณ ที่เกี่ยวกับกรรมฐานแบบโบราณในประเทศไทย จึงได้นำเนื้อหาข้อมูลที่ผู้เขียนเคยบรรยายในการจัดเสวนา “ถาม-ตอบเรื่องธรรมกาย ครั้งที่ ๓” ณ ห้องประชุมอาคาร ๑๐๐ ปี คุณยายอาจารย์ฯ มาใช้ ซึ่งครั้งนี้ก็ใช้เนื้อหาเดิมที่เป็นภาษาไทยแต่ปรับเปลี่ยนการนำเสนอเนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษ

     ผู้เขียนและคณะต่างปีติที่ได้ทำหน้าที่นำเสนอความจริงให้ปรากฏ จากผลวิจัยของสถาบันฯ (DIRI) ที่พบ หลักฐาน "ธรรมกาย" ในเอกสารโบราณครบทุกประเภท คือ ทั้งที่พบในศิลาจารึก คัมภีร์ใบลาน หนังสือพับสารวมทั้งจารึกลานเงิน ซึ่งมีหลักฐานคำว่า “ธรรมกาย” ปรากฏอยู่อย่างชัดเจน และมีอยู่จริงทั้งฝ่ายพุทธเถรวาทและมหายานในประเทศไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ และเห็นได้ว่า “ธรรมกาย” เป็นที่รู้จักเเละได้รับการอุปถัมภ์จากชนชั้นสูงมาไม่ต่ำกว่า ๖๐๐ ปี และนักวิจัยของสถาบันฯ (DIRI) อีกท่านหนึ่งคือ ดร.กิจชัย เอื้อเกษม ก็นำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง กรรมฐานโบราณจากศิลาจารึกยุคสุโขทัย และหนังสือสิ่งพิมพ์โบราณ โดยเนื้อหาที่กล่าวถึงการปฏิบัติสมาธิภาวนาเหล่านั้นสามารถเชื่อมโยงไปถึง “ธรรมกาย” อันเป็นที่พึ่งสูงสุดได้เช่นกัน

     เมื่อนำเสนอบทความพร้อมภาพประกอบเอกสารโบราณเสร็จสิ้นลง มีผลทำให้นักวิชาการที่มาร่วมประชุมต่างให้การยอมรับว่า “ธรรมกาย” นั้นมีจริง และต่างเสนอกันว่าเรื่องนี้ควรที่จะสืบค้นและศึกษาอย่างต่อเนื่องเพราะหลักฐานจากเอกสารโบราณที่นำเสนอต่อที่ประชุมนั้น โดยเฉพาะศิลาจารึกก็มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ เเละผู้เขียนยังแจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ทางสถาบันฯ (DIRI) ยังได้ทำการสำรวจแหล่งข้อมูลเพื่อสืบค้นหลักฐานธรรมกาย ในเขตพุทธโบราณของประเทศอื่น ๆ ด้วย เช่น ศรีลังกา เวียดนามและกัมพูชา เป็นต้น และเพื่อสร้างความเชื่อถือให้มากและหนักแน่นยิ่งขึ้น จึงเชิญคุณสุเพียบให้มาสาธิตการสวดคาถาพระธรรมกาย ตามที่มีปรากฏอยู่ในคัมภีร์ธมฺมกายาทิ เพื่อให้กลุ่มนักวิชาการในที่ประชุมได้เห็นประจักษ์ด้วยตนเอง และเห็นจริงว่า “ธรรมกาย” เป็นที่รู้จักในกรรมฐานแบบโบราณตามพุทธเถรวาท ในหลายแห่งตามที่ผู้เขียนกล่าวไว้
 
คุณสุเพียบ ผู้เชี่ยวชาญอักษรเขมรโบราณ กำลังสาธิตการสวดคาถาพระธรรมกายที่มีในกัมพูชา ซึ่งคุณสุเพียบและคุณเลียง ก๊กอาน ได้ให้ความช่วยเหลือแก่สถาบันฯ (DIRI) ในการสืบค้นหลักฐานธรรมกายในกัมพูชา
คุณสุเพียบ ผู้เชี่ยวชาญอักษรเขมรโบราณ กำลังสาธิตการสวดคาถาพระธรรมกายที่มีในกัมพูชา
ซึ่งคุณสุเพียบและคุณเลียง ก๊กอาน ได้ให้ความช่วยเหลือแก่สถาบันฯ (DIRI) ในการสืบค้นหลักฐานธรรมกายในกัมพูชา

     จากการประชุมทางวิชาการร่วมกันในครั้งนี้ มีผลที่ดีเกิดขึ้นนอกเหนือจากการเปิดตัวสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) ให้เป็นที่รู้จักในวงวิชาการด้านการอนุรักษ์คัมภีร์โบราณเพิ่มมากขึ้น คือทำให้สถาบันฯ (DIRI) มีโอกาสแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงลึกเรื่อง หลักฐานธรรมกายในเอกสารโบราณร่วมกับนักวิชาการตะวันตก เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งเป็นโอกาสที่เกิดขึ้นได้ยากยิ่ง

     พอสรุปได้ว่า การที่ สถาบันฯ DIRI ได้นำเสนอผลงานวิจัยต่อที่ประชุม ๒ ชิ้น นั้นนับว่าเป็นการเริ่มวางรากฐานในวงวิชาการ เพื่อให้เกิดการยอมรับว่า คำว่า “ธรรมกาย” นี้มีอยู่จริง และให้ยอมรับว่ามีธรรมเนียมปฏิบัติที่มุ่งการบรรลุถึงธรรมกายและเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุด ซึ่งทางสถาบันฯ (DIRI) เชื่อว่าในภาวะปัจจุบันคงมีผลได้ในระดับหนึ่ง แต่จะต้องตระหนักและถือเป็นพันธกิจที่สำคัญในการมุ่งมั่นเกาะติดแวดวงวิชาการเพื่อทำความจริงให้ปรากฏแก่ชาวโลกสืบไป

ข้อสังเกต

     เมื่อผู้เขียนเดินทางกลับมาจากการสัมมนาทางวิชาการครั้งนี้แล้ว รู้สึกปลื้มปีติใจที่ได้เห็น วารสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ มีบทความทางวิชาการเรื่อง “พระจอมเกล้า” กับ “พระธรรมกาย” ในจิตรกรรมวัดปทุมวนาราม ซึ่งมีเนื้อหาอ้างอิงผลงานวิจัยของผู้เขียนเมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ ที่ พระครูปลัดนายกวรวัฒน์(สุธรรม สุธมฺโม) จาก “คัมภีร์ธมฺมกายาทิ ฉบับเทพชุมนุม” และผลงานฉบับวิชาการที่เรียบเรียงโดย ดร.ชนิดา จันทราศรีไศล บ.ศ.๙ จากหนังสือ หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ
 
(ถ้าสนใจโปรดติดตามรายละเอียดได้จากวารสารตามภาพปกนี้)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น