วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559

ธรรมกาย ในหนังสือสมถวิปัสสนาแบบโบราณ



            การศึกษาหนังสือสมถวิปัสสนาแบบโบราณ  ซึ่งพระมหาโชติ-ปญฺโญ (ใจ  ยโสธรรัตน์)  
วัดบรมนิวาส  รวบรวมในปี พ.ศ.๒๔๗๙ จำนวน  ๕๓๔ หน้า หนังสือสมถวิปัสสนาแบบโบราณ 
ว่าด้วยสมถ แลวิปัสสนากัมมัฏฐาน ๔ ยุค  คือ กรุงศรีสัตตนาคณหุตฯ (เวียงจันทร์) กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ มีอยู่วิธีหนึ่งชื่อว่า"แบบขึ้นกัมมัฏฐาน ห้องพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ  ซึ่งได้ต้นฉบับมาจากวัดประดู่โรงธรรม  กรุงศรีอยุธยา(กรุงเก่า)  โดยมีบันทึกว่า เป็นแบบที่สืบเนื่องมาจากท่านทิสาปาโมกขาจารย์ ๕๖ องค์ แต่ครั้งโบราณฯ  ได้ประชุมกันจารึกไว้ เมื่อประมาณพุทธศักราช ๕๗๒

            การปฏิบัติแบบโบราณ ได้พูดถึงวิธีการปฏิบัติวิปัสสนา บอกตั้งแต่การสวดมนต์ทำวัตร  
การท่องคำภาวนา  การกำหนดนิมิต การวางใจตามฐานต่างๆ ภายในตัว รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของสภาวะจิตที่จะเกิดขึ้น จนถึงสภาวะธรรมที่เที่ยงแท้เป็นอมตะ คือการเจริญวิปัสสนาญาณ เพื่อให้ถึงธรรมกาย และยังกล่าวต่อไปอีกว่าเป็นที่พึ่งอันยอดเยี่ยม มีราย-ละเอียดดังนี้ 
(ฉบับสมบูรณ์ดูได้จากภาคผนวกหน้า ผ๑๕๙-ผ๑๙๔)

แบบสมถวิปัสสนา
  
กัมมัฏฐานมัคคปาลีมุต

แบบสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน

หน้า ๓๒๑-๓๒๕ จะกล่าวถึงว่า

    "ก่อนลงมือปฏิบัติสมถวิปัสสนา กัมมัฎฐาน ต้องทำวัตรพระ ขอ    อาราธนา พระพุทธ พระธรรม พระ-สงฆ์ เป็นที่พึ่ง ขอขมาลาโทษต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์  แล้วจึงลงมือนั่ง 
ในขณะนั่งให้ภาวนา

                                     อิติปิโส  ภควา  ฯลฯ  พุทโธ  ภควาติ

                                    สมฺมาอรหํ  สมฺมาอรหํ  สมฺมาอรหํ 

                                    อรหํ  อรหํ  อรหํ



            หน้า ๓๒๘  กล่าวต่อไปถึงการเข้าถึงกายรูปร่างทรงเครื่องมงกุฎสร้อยสังวาลย์ดังนี้

             ...ข้าจะภาวนาพระพุทธคุณเจ้า  เพื่อจะขอเอายังพระลักษณะ  พระกายสุขจิตต์สุขเจ้านี้จงได้  
ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าพเจ้านี้เถิด ฯลฯ  เพื่อจะขอเอายังพระลักษณ์ พระกายสุขจิตต์สุขนี้
จงได้ ขอจงเจ้ากู ฯลฯ ภาวนาอยู่นี้เถิด

            ได้สุขเหมือนนั่งใต้ต้นไม้  ต้องลมริ้วๆ สบายริ้วๆ มาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิด  ปรากฏเห็นรูปร่างตนเอง  ทรงเครื่องมงกุฎสร้อยสังวาลย์ ชื่นชมยินดีสบาย

            ข้าจะขอภาวนาพระพุทธเจ้า  เพื่อจะขอเอายังพระลักษณะพระ-อุปจารสมาธิ  พุทธานุสสติเจ้านี้จงได้  ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าพเจ้านี้เถิด ฯลฯ เพื่อจะขอเอายังพระอุปจารสมาธิพระพุทธานุส-สติเจ้าจงได้  ขอจงเจ้ากู ฯลฯ  ภาวนาอยู่นี้เถิด

            ปรากฏเห็นรูปร่างตนเอง  ทรงเครื่องมงกุฎสร้อยสังวาลย์ชื่นชมยินดีสบาย...

            การปฏิบัติสมถวิปัสสนาแบบโบราณ โดยใช้อาณาปานัสสติให้ปฏิบัติดังนี้ (หน้า ๓๒๙ - ๓๓๐)

             ...ภาวนา ๑,,,,๕  ตั้งต้นในจงอยปาก เห็นลมหายใจและภาวนา ๑,,,,๕ ปรากฏฝอยเหมือนไฟ ๑ ควันหม้อ ๑  เหมือนนุ่น ๑ แล้วปรากฏเห็นดวงดาวดวงหนึ่ง แล้วปรากฏเห็นพระจันทร์ซีกหนึ่ง  แล้วเป็นพระจันทร์ทั้งดวง  และภาวนาไปแล้วเห็นปรากฏเป็นพระอาทิตย์ซีกหนึ่ง  แล้วปรากฏเป็นพระอาทิตย์ทั้งดวง  แล้วภาวนาให้ปรากฏเห็นดวงดาวดวงหนึ่ง แล้วส่งไปและพาเข้ามา  แล้วปรากฏเห็นพระจันทร์ซีกหนึ่ง แล้วส่งไปและพาเข้ามา แล้วเห็นพระจันทร์ทั้งดวง  ส่งไปและพาเข้ามา  แล้วปรากฏเห็นพระอาทิตย์ซีกหนึ่ง  ส่งไปและพาเข้ามา  แล้วเห็นพระอาทิตย์ทั้งดวง  ส่งไปและพาเข้ามาไว้  
และตั้งในกลางจมูกเห็นหมู่ญาติ  มนุษย์และสัตว์เดียรัจฉาน  ตั้งใน  หว่างคิ้ว  เห็นเทวดาทั้งหลาย  
และตั้งเพดานข้างใน  วัดลงไปเท่าแม่มือ  ตั้งลิ้นไก่ข้างในวัดลงไป  ตั้งดวงหทัยวัดลงไปถึงนาภี  
แล้ววัดขึ้นมานาภี  ต้นลมหทัยกลาง  ลมนาสิก  ปลายลมปราณ  ลมข้าวเปลือก  ลมข้าวเบา ขวั้นตาล

(จบอานาปา)...

            แบบขึ้นพระกัมมัฏฐาน  ห้องพระพุทธคุณ  ห้องพระ-ธรรมคุณ  ห้องพระสังฆคุณ  ได้ต้นฉบับมาจากวัดประดู่โรงธรรม, กรุงศรีอยุธยา (กรุงเก่า)  พระ-อาจารย์กล่าวไว้ว่า  เป็นแบบที่สืบ เนื่องมาจากท่านทิสาปาโมกขา-จารย์ ๕๖ องค์ สืบต่อมาแต่ พระพุทธศักราชล่วงไป ๕๗๒ พรรษา ปีมะเมีย สัมฤทธิ์ศก ซึ่งมีใจความสำคัญเกี่ยวกับธรรมกายดังนี้

            หน้า ๓๕๒

            ห้องพระพุทธคุณ  กล่าวว่าเมื่อจิตต์เป็นสุขให้ดูธรรมกายในรูปกาย ดังความว่า
"...เมื่อกายเป็นสุขแล้ว จิตต์เป็นสุขแล้ว จึงตั้งจิตต์ พิจารณาดูธรรมกายในรูปกายด้วยการดำเนินในโพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการ จนจิตต์รู้แจ้งแทงตลอดในรูปธรรมและนามธรรมได้แล้ว จักมีตนเป็นที่พึ่ง 
จักมีธรรมเป็นที่พึ่ง ด้วยประการฉะนี้...

            หน้า ๓๖๑ - ๓๖๒

            ห้องพระธรรมคุณ ได้กล่าวว่า เมื่อจิตต์บริสุทธิ์ ย่อมเข้าถึงรูปอันเป็นอจินไตย รุ่งเรืองสุกใส 
ดังความว่า"...เมื่อพิจารณาได้ประณีตสุขุมดีแล้ว จะเห็นธรรมอันเอกด้วยจิตต์ จักได้ที่พึ่งอันอุดมสุข 
อันเจ้าตัวจะพึงรู้เองเห็นเอง เพราะว่าผู้มีใจประกอบด้วยสมาธิ  ไม่ประกอบด้วยใจฟุ้งสร้านดำเนินกระแสจิตต์เป็นลำดับ จิตต์ย่อมบรรลุสภาพอันเป็นทิพย์ที่บริสุทธิ์อย่างยิ่ง อันเป็นส่วนสัพพัญญุตญาณ เห็นชัดหยั่งทราบที่สุดในโลก ยั่งยืน เป็นผู้บังคับ และละเอียดที่สุด  แต่บรรดาสิ่งที่ละเอียดด้วยกัน 
เพราะมีรูปเป็น อจินไตย รุ่งเรืองสุกใส ลอยเด่นอยู่ เหนือความมืด คือ อวิชชา...

            หน้า ๓๗๐

            ห้องพระสังฆคุณ ได้กล่าวว่า ธรรมกาย เป็นอมตะ ดังความว่า"...พระโยคาวจรผู้รู้ว่า ธรรมกายดำรงอยู่ในหทัยประเทศ แห่งสรรพภูต ทำให้หมุนดังว่าหุ่นยนต์ ท่านจึงตั้งใจเจริญพระวิปัสสนาญาณ เพื่อให้ถึงธรรมกาย เป็นที่พึ่งอันยอดเยี่ยมโดยสิ้นเชิง ถึงสถานอันสงบระงับประเสริฐเที่ยงแท้ เพราะความอำนวยของธรรมกาย นั้นเป็น"อมตะ  ฯ...

            สำหรับบุรพกิจของกัมมัฏฐานแบบย่อ  แบบที่ ๑ ของเจ้าพระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ 
(สิริจนฺโท  จันทร์)  อายุ ๗๙ ปี พรรษา ๕๖ ปี เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส (หน้า ๓๗๓ - ๓๗๔) ได้กล่าวถึงวิธีนั่งกัมมัฏฐาน ดังนี้ "...พึงหันหน้าไปทางทิศบูรพา นั่งคู้บัลลังก์ ขัดสมาธิให้วางมือและเท้าข้างขวาทับซ้อนข้างซ้าย ตั้งกายให้ตรง วางสติให้มั่นคงทุกๆ ครั้งที่นั่ง ทั้งกลางวันและกลางคืน ตั้งจิตต์หมายไว้ที่ท้องริมสะดือข้างขวา สูงและห่างจากสะดือ ๓ นิ้ว อย่าให้ตรงศูนย์สะดือ หากว่าจิตต์ที่ตั้งเหนือสะดือ
ไม่อยู่ คงผ่อนลงมาหรือต่ำกว่าเพียง ๑ นิ้วก็ได้ ทำอย่างนี้เพื่อให้เหมาะแก่อารมณ์ของผู้ปฏิบัติ 
แต่ถ้าตั้งอยู่เหนือได้เป็นดี เพราะเหมาะแก่เหตุที่มุ่งหวังเมื่อทำได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว พึงบริกรรมภาวนาว่า อรหํๆ  หรือจะเลือกบทอื่นๆ ซึ่งเหมาะแก่ใจของตนก็ได้ ให้ทำเสมอไป ผิว่าวาสนามีมาประกอบกรรมก็จะปรากฏขึ้นได้โดยเร็วพลัน...

            แบบที่ ๖ พระกัมมัฏฐาน แบบเดินธาตุในห้องพระเจ้า ๕ พระองค์ (หน้า ๓๙๕ )  ได้กล่าวถึงนิมิตต์ดังนี้ "...เมื่อจิตต์ตั้งเที่ยงแล้วให้ผูกจิตต์กับ อ. ให้ถึงกันด้วยดี ให้ตรงกันด้วยดี ให้รู้กันด้วยดี ให้ถึงกันโดยชอบ จนได้อุคคหนิมิตต์และปฏิภาคนิมิตต์ นิมิตต์นั้นจะเป็นวงกลมก็ตาม เป็นพระพุทธรูปก็ตาม เป็นอย่างเม็ดเพ็ชรรัตน์หรือดวงแก้วก็ตาม ต้องสังเกตกำหนดรักษาไว้ใช้ ทำให้มากเจริญให้มาก ทำให้ชำนาญจนสามารถบังคับนิมิตต์ไว้ในอำนาจได้ จิตต์ได้เครื่องหมาย ได้ที่พัก อย่าติดนิมิตต์...

            สมุฏฐานของลมทำจิตต์ให้เป็นสมาธิ (หน้า ๓๔๘ - ๓๘๖) กล่าวไว้ว่า

            การตั้งฐานของลมทำจิตต์ให้เป็นสมาธินั้น ในหนังสือบอกไว้ถึง ๙ ฐานด้วยกัน คือ

            ๑. กำหนดตั้งที่สะดือ

            ๒. กำหนดตั้งที่เหนือสะดือนอกเนื้อในหนังประมาณ ๓ นิ้ว

            ๓. กำหนดตั้งในเนื้อหัวใจ

            ๔. กำหนดตั้งที่สุดลำคอเป็นสถานที่หลับ

            ๕. กำหนดตั้งที่ปลายนาสิก (ปลายจมูก)

            ๖. กำหนดตั้งที่จักขุ

            ๗. กำหนดตั้งที่ระหว่างคิ้ว

            ๘. กำหนดตั้งบนกระหม่อม

            ๙. กำหนดตั้งที่ท้ายทอย

            จากการศึกษาหนังสือสมถวิปัสสนาแบบโบราณทุกท่านจะเห็นว่า คำว่า ธรรมกายนั้น  สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษชาวไทยนับเป็นเวลาหลายร้อยปี  อาจจะถึงเป็นพันปีก็ว่าได้ แต่กลายมาเป็นของใหม่ของคนยุคนี้ไป ทั้งๆ ที่เป็นมรดกธรรมตกทอดกันมาหลายชั่วอายุคน แต่เนื่องจากระบบการศึกษา
ในปัจจุบันของพระภิกษุสงฆ์ ได้ละเลยคัมภีร์โบราณนี้ ของที่เป็นของโบราณจึงกลายเป็นของใหม่สำหรับสายตาของหลายๆ ท่าน บางท่านก็ไม่เชื่อว่ามีจริงเพราะติดกับตำราที่ตนเองศึกษา โดยมิได้ค้นคว้าและศึกษาว่า แท้ที่จริงตำราต่างๆ ทางพระพุทธศาสนาในปัจจุบันล้วนอ้างอิงมาจากตำราหรือคัมภีร์โบราณทั้งสิ้น

            พระพุทธเจ้าเคยตรัสไว้ในคัมภีร์กาลามสูตรว่า"มา ปิฎกสมาทเปน คือ ไม่เชื่อเพราะยึดติดกับคัมภีร์ทางศาสนา ก็จะถือว่าตัวเองถูก   กว่าจะเป็นคัมภีร์ได้ก็หมายความว่า  ต้องมีขบวนการต่างๆ มากมาย  มีการรวบรวมการเรียบเรียง  ซึ่งอาจจะหมายถึงการตัดทอนและเสริมแต่งในขณะเดียวกันก็ได้  และอาจจะคัดลอกกันมาผิดๆ ติดต่อกันมาเรื่อยจนถึงปัจจุบัน เราต้องไม่ลืมว่าพุทธศาสนานั้นต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบต่อไปเรื่อยๆ  ตามกาลเวลา  การที่จะสรุปว่าของเก่าเป็นอย่างนั้นต้องเข้าใจจริงๆ  ก่อนว่าประวัติการทำการพิจารณาคัมภีร์ศาสนาแต่ละครั้งแต่ละหนนั้น มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง 
ไม่ว่าจะเป็นหลักศิลาจารึก หรือหนังสือพระสมถวิปัสสนาที่ได้รวบรวมคัมภีร์โบราณแล้วพิมพ์ใหม่เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๙ นี้  ก็เป็นตัวอย่างอันดี  และเป็นหลักฐานที่ยืนยันเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมในอดีตของแผ่นดินไทยของเรา  และเป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่า  เป็นสิ่งซึ่งอยู่คู่กับชาติไทยมานานนับพันปี




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น