วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559

ธรรมกาย ในคัมภีร์มิลินทปัญหา



            ตามหนังสือมิลินทปัญหา ฉบับพิสดาร ของหอสมุดแห่งชาติ ฉบับแปล ๒ เล่มจบนั้น 
ได้ใจความจากคำทรงอธิบายของสมเด็จกรมพระ-ยาดำรงราชานุภาพว่า มิลินทปัญหาฉบับเดิม 
แต่งเป็นภาษาสันสกฤต หรือภาษาปรากฤต แต่งขึ้นในอินเดียทางข้างฝ่ายเหนือ ซึ่งเวลานั้น 
พระภิกษุสงฆ์ในอินเดีย ยังไม่แยกกันเป็นฝ่ายมหายาน และหินยาน เวลาที่แต่งนั้นประมาณ พ.ศ.๕๐๐ (เก่าแก่กว่าคัมภีร์วิสุทธิมรรค) ต่อมาต้นฉบับเดิมสาบสูญไป เหลือแต่ฉบับภาษาบาลีในลังกาเท่านั้น 
ต่อมาอีกไม่ช้านัก ชาวยุโรปก็รู้ว่า จีนได้มิลินทปัญหาฉบับเดิมไปจากอินเดีย จึงคัดจากจีนไป 
แต่ไม่ได้ตัวฉบับเดิมไปจากจีน เพราะจีนเอาไปแปลเป็นภาษาจีนเสีย คงมีฉบับบาลีอยู่ในเมืองลังกา 
เมืองไทย เมืองพม่า ๓ แห่งเท่านั้น และปรากฏว่า ฉบับที่ชาวยุโรปได้ไปจากเมืองไทยเป็นฉบับบริบูรณ์ดีกว่าที่ได้ไปจากที่อื่น อาจารย์ริดส เดวิดส์ ชมว่า หนังสือมิลินทปัญหา เป็นหนังสือที่แต่งดีเยี่ยมคัมภีร์หนึ่ง และอาจารย์       ริดส เดวิดส์ได้แปลเป็นภาษาอังกฤษไว้

            ส่วนที่แปลเป็นภาษาไทย มีอยู่ ๓ ฉบับ คือ ฉบับแปลครั้งกรุงศรีอยุธยาฉบับหนึ่ง 
มีต้นฉบับอยู่ในหอพระสมุด แต่ไม่บริบูรณ์ฉบับแปลในรัชกาลที่ ๓ ซึ่งแปลเป็นสำนวนเทศน์ถวายหลวงอีกฉบับหนึ่ง ฉบับแปลในมหา-มกุฎราชวิทยาลัยอีกฉบับหนึ่ง ซึ่งต่างสำนวนกัน คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงแปลเองข้างต้นไม่กี่ตอน ต่อไปแปลหลายสำนวน ยิ่งบ้าง หย่อนบ้าง อยู่ในหนังสือธรรมจักษุ ที่ออกเป็นรายเดือน มีเรื่องอื่นปะปนตามแบบหนังสือรายเดือน และว่าส่วนฉบับหลวงครั้ง
รัชกาลที่ ๓ นั้น อยู่ข้างรุ่มร่าม เป็นแต่สำนวนเสมอต้นเสมอปลาย หอสมุดจึงได้เลือกเอาฉบับหลวงรัชกาลที่ ๓ ขึ้นพิมพ์ไว้เป็นหนังสือ ๓ เล่มจบ เรียกว่า"มิลินทปัญหา ฉบับพิสดาร ของหอสมุดแห่งชาติ  เนื้อเรื่องเป็นปุจฉาหัวข้อธรรมต่างๆ โดยกษัตริย์กรีกองค์หนึ่งชื่อมิลินท์ (เมนันเดอร์) และวิสัชนา
โดยพระอรหันต์ชื่อพระนาคเสน มีอยู่ตอนหนึ่งซึ่งได้กล่าวถึงธรรมกาย ชื่อว่า
"พุทธนิทัสสนปัญหาที่ ๕๘  ดังนี้

           

พุทฺธนิทสฺสนปฺโห ทสโม

            ราชา อาห ภนฺเต นาคเสน พุทฺโธ อตฺถีติ ฯ อาม มหาราช ภควา อตฺถีติ ฯ สกฺกา ปน ภนฺเต นาคเสน พุทฺโธ นิทสฺเสตุํ อิธ วา อิธ วาติ ฯ ปรินิพฺพุโต มหาราช ภควา อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา น สกฺกา ภควา นิทสฺเสตุํ อิธ วา อิธ วาติ ฯ อุปมํ กโรหีติ ฯ ตํ กึ มญฺญสิ มหาราช มหโต อคฺคิขนฺธสฺส ชลมานสฺส ยา อจฺฉิ อตฺถงฺคตา สกฺกา สา อจฺฉิ  นิทสฺเสตุํ อิธ วา อิธ วาติ ฯ น หิ ภนฺเต นิโรธา สา อจฺฉิ อปฺปตฺตึ คตาติ ฯ เอวเมว โข มหาราช ภควา อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา  ปรินิพฺพุโต อตฺถงฺคโต น สกฺกา ภควา นิทสฺเสตุํ อิธ วา อิธ วาติ          ธมฺมกาเยน ปน มหาราช สกฺกา ภควา นิทสฺเสตุํ ธมฺโม หิ มหาราช ภควตา เทสิโตติ ฯ กลฺโลสิ  ภนฺเต นาคเสนาติ

             คัมภีร์มิลินทปัญหา ซึ่ง ได้เขียนเรื่องราวการโต้ตอบปัญหาระหว่างพระนาคเสนกับพระเจ้ามิลินท์ มีความตอนหนึ่ง ได้กล่าวถึงพระธรรมกาย ความว่า

            พระเจ้ามิลินท์  :           ข้าแต่พระนาคเสน พระพุทธเจ้ามีจริงหรือ?

            พระนาคเสน    :           ขอถวายพระพร มีจริง ฯ

            พระเจ้ามิลินท์  :           พระผู้เป็นเจ้า อาจชี้ได้หรือไม่ว่า พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน?

            พระนาคเสน    :           ขอถวายพระพร พระพุทธเจ้าปรินิพพาน  
                                                  
                                                ด้วยการดับขันธ์แล้ว ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหนฯ

            พระเจ้ามิลินท์  :           ขอจงอุปมาฯ  

            พระนาคเสน    :           ขอถวายพระพร เปลวไฟที่ดับไปแล้วมหาบพิตรอาจชี้ได้หรือไม่ว่า 
                                                 เปลวไฟนั้นอยู่ที่ไหน?

            พระเจ้ามิลินท์  :           ไม่ได้ ผู้เป็นเจ้า เพราะเปลวไฟนั้นถึงซึ่งความไม่มีบัญญัติแล้ว ฯ

            พระนาคเสน    :           ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร พระพุทธเจ้า                                      
ดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ก็ไม่มีใครอาจชี้ได้ว่า 
ไปอยู่ที่ไหน อาจชี้ได้เพียงพระธรรมกายของพระพุทธเจ้าเท่านั้น 
เพราะว่าพระธรรมนั้นเป็นของ
พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ ฯ

            พระเจ้ามิลินท์  :           ถูกแล้วผู้เป็นเจ้า

(คำแปลเป็นไทย ค้นจากมิลินทปัญหา ฉบับพิศดารของ ปุ้ย  แสงฉาย)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น