วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559

หลักฐานธรรมกายในพระไตรปิฎก

    

            ในพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐจำนวน ๔๕ เล่ม ได้มีปรากฏคำว่า ธรรมกาย (ธมฺมกาโย ธมฺมกายา และ ธมฺมกายญฺจ เป็นต้น) เป็นหลักฐานรวมทั้งสิ้น ๕ แห่ง สำหรับคำแปลเป็นไทยใช้ฉบับมหามกุฎฯ ดังนี้
            หลักฐานชั้นพระไตรปิฎก (ดูหลักฐานฉบับสมบูรณ์ที่ภาคผนวก หน้า ผ๒-ผ๑๕)
            ๑.ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค  อัคคัญญสูตร  ฉบับสยามรัฐ  เล่ม ๑๑ ข้อ ๕๕ หน้า ๙๑ - ๙๒ 
         (ที.ปา.อัคคัญญสูตร ๑๑/๕๕/๙๑-๙๒) [ดู อรรถกถา ๓, ฎีกา ๕]

            [๕๕]   ตุเมฺห ขฺวตฺถ วาเสฏฺฐา นานาชจฺจา นานานามา นานา โคตฺตา นานากุลา อคารสฺมา อนคาริยํ ปพฺพชิตา เก ตุเมฺหติ ปุฏฺฐา- สมานา สมณา สกฺยปุตฺติยามฺหาติ ปฏิชานาถาติ ฯ ยสฺส โข ปนสฺส วาเสฏฺฐา ตถาคเต สทฺธา นิวิฏฺฐา มูลชาตา ปติฏฺฐิตา ทฬฺหา อสํหาริยา สมเณน วา พฺราหฺมเณน วา เทเวน วา มาเรน วา พฺรหฺมุนา วา เกนจิ วา โลกสฺมึ ตสฺเสตํ กลฺลํ วาจาย ภควโตมฺหิ ปุตฺโต โอรโส มุขโต ชาโต ธมฺมโช ธมฺมนิมฺมิโต ธมฺมทายาโท ติ ฯ ตํ กิสฺส เหตุฯ ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิฯ
        
            [๕๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ เธอทั้งหลายแล  มีชาติต่างกัน มีชื่อต่างกัน มีโคตรต่างกันออก จากเรือนมาบวชเป็นบรรพชิต ถูกเขาถามว่า ท่านเป็นพวกไหนดังนี้ พึงตอบเขาว่า พวกเราเป็นพวกพระสมณะศากยบุตรดังนี้. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็ผู้ใดแลมีศรัทธาในพระตถาคตตั้งมั่น เกิดแต่มูลราก ตั้งมั่นอย่างมั่นคง อันสมณพราหมณ์ เทวดา มารพรหมหรือใครๆ  ในโลกให้เคลื่อนย้ายไม่ได้ ควรจะเรียกผู้นั้นว่า เราเป็นบุตรเกิดแต่พระอุระเกิดจากพระโอษฐ์ของพระผู้มีพระภาค เกิดจากพระธรรม พระธรรมเนรมิตขึ้น  เป็นทายาทของพระ-ธรรมดังนี้. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะคำว่า ธรรมกายก็ดี พรหมกายก็ดี ธรรมภูตก็ดี พรหมภูตก็ดี เป็นชื่อของพระตถาคต.
(ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรคอัคคัญญสูตร แปลเป็นไทย ฉบับมหามกุฏ เล่ม ๑๕ หน้า ๑๕๐)

                                     (ที.ปา.อัคคัญญสูตร ๑๑/๕๕/๑๕๐)

            ๒.ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา ฉบับสยามรัฐ เล่ม ๒๖ ข้อ ๓๖๕ หน้า ๓๔๐,๓๔๑ (ขุ.เถร.สรภังคเถร-คาถา ๒๖/๓๖๕/๓๔๐-๓๔๑)

            (๓๖๕) สเร หตฺเถหิ ภญฺชิตฺวา  กตฺวาน กุฏิมจฺฉิสํ
                        เตน เม สรภงฺโคติ        นามํ สมฺมติยา อหุ ฯ
                        น มยฺหํ กปฺปเต อชฺช    สเร หตฺเถหิ ภญฺชิตํุ
                        สิกฺขาปทา โน ปญฺญตฺตา         โคตเมน ยสสฺสินา ฯ
                        สกลํ สมตฺตํ โรคํ          สรภงฺโค นาทฺทสํ ปุพฺเพ
                        โสยํ โรโค ทิฏฺโฐ          วจนกเรนาติเทวสฺส ฯ
                                    เยเนว มคฺเคน คโต วิปสฺสี
                                    เยเนว มคฺเคน สิขี จ เวสฺสภู
                                    กกุสนฺธโกนาคมโน จ กสฺสโป
                                    เตนญฺชเสน อคมาสิ โคตโม ฯ
                        วีตตณฺหา อนาทานา    สตฺต พุทฺธา ขโยคธา
                        เยหยํ เทสิโต ธมฺโม      ธมฺมภูเตหิ ตาทิหิ
                        จตฺตาริ อริยสจฺจานิ      อนุกมฺปาย ปาณินํ
                        ทุกฺขํ สมุทโย มคฺโค     นิโรโธ ทุกฺขสงฺขโย ฯ
                        ยสฺมึ นิวตฺตเต ทุกฺขํ      สํสารสฺมึ อนนฺตกํ
                        เภทา อิมสฺส กายสส     ชีวิตสฺส จ สงฺขยา
                        อญฺโญฺ ปุนพฺภโว นตฺถิ             สุวิมุตฺโตมฺหิ สพฺพธีติ
                                              สรภงฺโค เถโร ฯ
                                                  อุทฺทานํ
                  
            (๓๖๕) ... เมื่อก่อนเราผู้ชื่อว่าสรภังคะ  ไม่เคยได้เห็นโรคคืออุปาทานขันธ์ ๕ ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้น โรคนั้นอันเราผู้ทำตามพระดำรัสของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ได้เห็นแล้ว พระสัมมาสัม-พุทธเจ้าพระนามว่า พระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันธะ  พระโกนาคมนะ  พระกัสสปะ ได้เสด็จไปแล้วโดยทางใดแล พระสัมมา-สัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม  ก็ได้เสด็จไปแล้วโดยทางนั้น  พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์นี้ ทรงปราศจากตัณหา ไม่ทรงถือมั่น ทรงหยั่งถึงความสิ้นกิเลส เสด็จอุบัติโดยธรรมกาย ผู้คงที่ทรงเอ็นดูอนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย  ได้ทรงแสดงธรรม คือ อริยสัจ๔  อันได้แก่ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์  ทางเป็นที่สิ้นทุกข์ เป็นทางที่ทุกข์ไม่เป็นไป อันไม่มีที่สุดในสงสาร  เพราะกายนี้แตก และเพราะความสิ้นชีวิต
            (ขุททกนิกาย เถรคาถา สรภังคเถรคาถา แปลเป็นไทย ฉบับมหามกุฎฯ                 เล่ม ๕๒ หน้า ๒๖๙)
            (ขุ.เถร. สรภังคเถรคาถา ๕๒/๓๖๕/๒๖๙)

            ๓. ขุททกนิกาย อปทาน ปัจเจกพุทธาปทาน ที่ ๒ ฉบับ สยามรัฐ เล่ม ๓๒ ข้อ ๒  หน้า ๒๐

         (ขุ.อป.ปัจเจกพุทธาปทาน ๓๒/๒/๒๐)  [ดูอรรถกถา ๒๖]

                                    สุปฺปณิธิญฺจ ตถานิมิตฺตํ
                                    อาเสวยิตฺวา ชินสาสนมฺหิ
                                    เย สาวกตฺตํ น วชนฺติ ธีรา
                                    ภวนฺติ ปจฺเจกชินา สยมฺภู ฯ
                                    มหนฺตธมฺมา พหุธมฺมกายา
                                    จิตฺติสฺสรา สพฺพทุกฺโขฆติณฺณา
                                    อุทคฺคจิตฺตา ปรมตฺถทสฺสี
                                    สีโหปมา  ขคฺควิสาณกปฺปา ฯ
            เจริญสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ และอัปปณิหิตวิโมกข์ ไม่บรรลุความเป็นพระสาวกในศาสนาพระชินเจ้า นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นพระสยัมภูปัจเจกพุทธเจ้า มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมาก มีจิตเป็นอิสระ ข้ามห้วงทุกข์ทั้งปวงได้ มีใจเบิกบาน มีปกติเห็นประโยชน์อย่างยิ่ง อุปมาดังราชสีห์ อุปมาดังนอแรด ฉะนั้น
            (ขุททกนิกาย อปทาน  ปัจเจกพุทธาปทาน แปลเป็นไทย ฉบับมหามกุฏฯ เล่ม ๗๐ หน้า ๒๔๔)       

            ๔.ขุททกนิกาย อปทาน อัตถสันทัสสกเถราปทาน ที่ ๗ ฉบับสยามรัฐ เล่ม ๓๒ ข้อ ๑๓๙ หน้า ๒๔๓

         (ขุ.อป.อัตถสันทัสสกเถราปทาน อปทาน ๓๒/๑๓๙/๒๔๓)                  

                        ธมฺมกายญฺจ ทีเปนฺตํ        เกวลํ รตนากรํ
                        วิโกเปตุํ น สกฺโกนฺติ        โก ทิสฺวา นปฺปสีทติ ฯ

         ๑.ชนทั้งหลายไม่อาจให้พระผู้มี-พระภาคเจ้า ซึ่งทรงแสดงพระ-ธรรมกาย และความเป็นหน่อเนื้อแห่งรัตนะ ทั้งสิ้นให้กำเริบได้ ใครได้เห็นแล้วจะไม่เลื่อมใสเล่า [สำนวนฉบับมหามกุฏฯ]
            (ขุ.อป.อัตถสันทัสสกเถราปทาน อปทาน ๓๒/๑๓๙/๑๘๖, ฉ.มหามกุฏฯ เล่ม ๗๑ หน้า ๔๖๖)

            ๒.บุคคลใด ยังธรรมกายทั้งสิ้นให้สว่างแล้ว อันเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะทั้งหลาย อันบุคคลทั้งหลายไม่มีผู้ใดจะทำร้ายได้ ใครเล่าเมื่อเห็นแล้วจะไม่ปลาบปลื้มยินดีนั้นไม่มี

         [สำนวนฉบับความรู้เรื่องธรรมกาย]

            ๓.ชนทั้งหลายไม่สามารถเพื่อกำจัดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด ผู้ทรงแสดงธรรมกาย  และผู้เป็นบ่อเกิดแห่งพระรัตนตรัยอย่างเดียวได้ ใครเล่าเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล้วจะไม่เลื่อมใส
            [สำนวนฉบับมหามกุฏฯ ขุ.เถร.อรรถกถานาคิตเถรคาถา เล่ม ๕๐ หน้า ๔๑๓]  [ดูอรรถกถา ๑๘]

            ๕.ขุททกนิกาย อปทาน มหาปชาบดีโคตมีเถริยาปทาน ที่ ๗ ฉบับสยามรัฐ เล่ม ๓๓ ข้อ ๑๕๗ หน้า ๒๘๔

         (ขุ.อป.มหาปชาบดีโคตมีเถรีอปทาน ๓๓/๑๕๗/๒๘๔)
            อหํ สุคต เต มาตา         ตุวํ ธีร ปิตา มม
            สทฺธมฺมสุขโท นาถ      ตยา ชาตามฺหิ โคตม ฯ
            สํวทฺธิโตยํ สุคต           รูปกาโย มยา ตว
            อานนฺทิโย ธมฺมกาโย   มม สํวทฺธิโต ตยา ฯ
            มุหุตฺตํ ตณฺหาสมนํ       ขีรํ ตฺวํ ปายิโต มยา
            ตยาหํ สนฺตมจฺจนฺตํ      ธมฺมขีรมฺปิ ปายิตา
            พนฺธนารกฺขเน มยฺหํ     อนโณ ตฺวํ มหามุเน
            ปุตฺตกามิตฺถิโย ยาจํ      ลภนฺติ ตาทิสํ สุตํ ฯ

            ข้าแต่พระสุคต-เจ้า หม่อมฉันเป็น มารดาของพระองค์
            ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน
            ข้าแต่พระโลกนาถ พระองค์เป็น ผู้ประทานความสุขอันเกิดจากพระสัทธรรมให้หม่อมฉัน
            ข้าแต่พระโคดม หม่อมฉันเป็นผู้อันพระองค์ให้เกิด
            ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต
            ธรรมกายอันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ทำให้เจริญเติบโตแล้ว
         (ขุททกนิกาย อปทาน มหาปชาบดีโคตมีเถรีอปทาน แปลเป็นไทย ฉบับมหามกุฏฯ เล่ม ๗๒ หน้า ๕๔๒)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น